บทความและคลังความรู้

นายจ้างที่มีแรงงานต่างด้าวฟังทางนี้ !!!

นายจ้างที่มีแรงงานต่างด้าวฟังทางนี้ !!!

- จ้างแรงงานต่างด้าวอย่างไรให้ถูกกฎหมาย
- จ้างแรงงานต่างด้าวอย่างไรให้ถูกกฎหมาย
- วิธีจ้างแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมาย
- การขออนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าว
- ตนต่างด้าวสามารถเปลี่ยนนายจ้างได้

พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560
     พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 เป็นการปรับปรุงกฎหมายที่มีบทบัญญัติยังไม่ครอบคลุมการบริหารการจัดการการทำงานของคนต่างด้าวทั้งระบบ ได้แก่ พระราชบัญญัติ การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 และพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. 2559 โดยรวมกฎหมายทั้ง 2 ฉบับเป็นฉบับเดียวเน้นการให้ความคุ้มครอง อำนวยความสะดวกให้กับทั้งนายจ้างและแรงงานต่างด้าว การเพิ่มโทษนายจ้างที่กระทำผิดกฎหมายพร้อมดึงประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงาน มีสาระสำคัญดังนี้

 

ประโยชน์ที่ประเทศไทยและคนไทยจะได้รับ
     1.คนไทยไม่ถูกแย่งงานแย่งอาชีพ – มีการกำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ
     2.ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ – ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อคนภายในประเทศ
     3.เพื่อความมั่นคงของประเทศ – แรงงานต่างด้าวที่ลักลอบเข้ามาอย่างผิดกฎหมาย ได้ก่อให้เกิดปัญหาและผลกระทบต่างๆ ในสังคมไทยเป็นอย่างมาก
 

ข้อดีของลูกจ้างคนต่างด้าวและบุคคลที่เกี่ยวข้อง คือ
     1.ได้รับความคุ้มครองกรณีที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของนายจ้างอย่างไม่เป็นธรรม
     2.มีกลไกการร้องทุกข์และการเข้าถึงช่องทางการร้องทุกข์สำหรับคนต่างด้าวและผู้เกี่ยวข้องซึ่งได้รับความเสียหายจากการที่นายจ้าง หรือผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานไม่ปฏิบัติตามหน้าที่และความรับผิดชอบตามกฎหมาย
     3.มีการกำหนดช่องทางให้คนต่างด้าวสามารถเข้าถึงสิทธิได้โดยตรง
     4.คนต่างด้าวได้รับประโยชน์จากการได้รับสวัสดิการการประกันสังคม การประกันสุขภาพ การศึกษาและสังคม เพื่อสามารถทำงานอยู่ในประเทศไทยได้อย่างปกติสุข

 

ข้อดีของนายจ้าง / สถานประกอบการ
1.ได้คนต่างด้าวมาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายมีคุฯภาพตามความต้องการ
2.นายจ้างสามารถตรวจสอบคนต่างด้าวได้หากประสบปัญหาและเป็นไปตามมาตรฐานสากล 3.ป้องกันการหลอกลวงจากระบบสายนายหน้าเถื่อน และเสียค่าใช้จ่ายอย่างไม่เป็นธรรม 4.นายจ้างสามารถเข้าถึงระบบข้อมูลภาครัฐ เพื่อจะได้จำนวนแรงงานตามความต้องการ
5.มีการควบคุมประเภทงาน นายจ้าง ณ ท้องที่และเงื่อนไขตามที่ได้รับอนุญาตเพื่อให้เกิดความหยืดหยุ่นในการอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงาน ช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานได้

 

ข้อดีของภาคประชาสังคม เช่น NGO คือ
     1.ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลแรงงานต่างด้าวให้เป็นไปตามกฎหมายและหลักมาตรฐานสากล
     2.มีกลไกให้หน่วยงานภาคเอกชน และ NGO ในพื้นที่เข้ามาร่วมดำเนินการและมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว
ดังนั้น หากมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังและทั่วถึง จะแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน และการทำประมงผิดกฎหมายได้อย่างมีประสิทธิผล และจะทำให้การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวเข้าสู้ระบบที่ถูกต้องและได้รับการยอมรับจากนานาประเทศต่อไป